Friday, June 28, 2013

การดูแลรักษา อ้อย

การดูแลรักษา
อ้อยมีระยะการเจริญเติบโต 4 ระยะ คือ
1. ระยะงอก เริ่มปลูก 1.5 เดือน ( 3-6 สัปดาห์) อ้อยใช้อาหารจากท่อนพันธุ์และความชื้นในดินปุ๋ยรองพื้นช่วยให้รากแข็งแรง
2. ระยะแตกหน่อ อ้อยอายุ 1.5 - 3 เดือน ต้องการน้ำและปุ๋ยไนโตรเจนมาก เพื่อช่วยให้แตกกอและหน่อเติบโต
3. ระยะย่างปล้อง อ้อยอายุ 4-5 เดือน ระยะที่กำหนดขนาดและน้ำหนักของลำอ้อยเป็นช่วงที่อ้อยเจริญเติบโตเร็วที่สุด จึงต้องการปัจจัยต่างๆ เพื่อการเจริญเติบโตทั้งแสงแดด อุณหภูมิ น้ำและปุ๋ย
4. ระยะสุกแก่ เมื่ออ้อยอายุ 8 เดือน – เก็บเกี่ยวจะเป็นระยะสมน้ำตาลไม่ควรใส่ปุ๋ย
การใส่ปุ๋ย
การใส่ปุ๋ยถือเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งควรจะใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด ที่ช่วยปรับสภาพทางกายภาพของดินร่วมกับปุ๋ยเคมี ปุ๋ยเคมีที่ใส่ควรมีธาตุอาหารครบทั้ง 3 ชนิด คือ เอ็น – พี – เค ( N,P,K ) เช่น ปุ๋ยสูตร15-15-15 , 13-13-21 เป็นต้น
ควรใส่ปุ๋ยเคมีหลังปลูก หรือหลังแต่งตออ้อย 2 ครั้ง
  • ดิน ร่วนปนทราย ให้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 13-13-21 รองก้นร่องพร้อมปลูกหลังแต่งตอ 1 เดือน อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ ครั้งที่สองเมื่ออายุ 2-3 เดือน อัตรา 60 กิโลกรัมต่อไร่ ถ้าเป็นอ้อยตอหลังตัดแต่งตอให้เพิ่มปุ๋ยสูตร 46-0-0 อัตรา 10-15 กิโลกรัมต่อไร่ หรือสูตร 21-0-0 อัตรา 20-30 กิโลกรัมต่อไร
  • ดิน ร่วน หรือดินร่วนเหนียว ให้ปุ๋ยสูตร 16-8-8 หลังปลูกหรือหลังแต่งตอ 1 เดือน อัตรา 35 กิโลกรัมต่อไร่ ครั้งที่สองเมื่ออายุ 2-3 เดือน อัตรา 40 กิโลกรัมต่อไร อ้อยปลูกและอ้อยตอที่ปลูกในเขตชลประทานเมื่ออ้อยอายุ 2-3 เดือน ให้เพิ่มปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 อัตรา 15 กิโลกรัม ต่อไร่ หรือสูตร 21-0-0 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่
การให้ปุ๋ยทุกครั้ง ทั้งในอ้อยปลูกและอ้อยตอควรให้ขณะดินมีความชื้นโดยโรยข้างแถวอ้อยห่างประมาณ 10 เซนติเมตร และต้องฝังกลบปุ๋ย ยกเว้นการให้ปุ๋ยรองก้นร่อง
การให้น้ำ
สำหรับในแหล่งปลูกที่มีน้ำชลประทานหรือแหล่งน้ำตามธรรมชาติ
  • ควรให้น้ำตามร่องทันทีหลังปลูก โดยไม่ต้องระบายออก กรณีที่ไม่สามารถปรับพื้นที่ให้มีความลาดเอียงได้ ควรให้น้ำแบบพ่นฝอย
  • ต้องไม่ให้อ้อยขาดน้ำติดต่อกันนานกว่า 20 วัน เป็นระยะการสะสมน้ำตาล
  • งดให้น้ำก่อนเก็บเกี่ยว 2 เดือน ถ้าฝนตกหนักต้องระบายน้ำออกทันที
ให้น้ำทันทีหลังตัดแต่งตออ้อย
การกำจัดวัชพืช
การกำจัดวัชพืชเป็นสิ่งจำเป็นในช่วง 3-4 เดือนแรก ถ้าวัชพืชมากจะทำให้ผลผลิตอ้อยลดลง การกำจัดวัชพืชอาจใช้แรงงานคน แรงงานสัตว์ หรือเครื่องทุ่นแรง เช่น จอบหมุน
คราดสปริง รวมถึงการใช้สารเคมี ซึ่งสารเคมีที่ใช้กำจัดวัชพืชแบ่งเป็น 3 พวก ได้แก่
  1. ยาคุมหญ้า ใช้เมื่อปลูกอ้อยใหม่ๆ หญ้ายังไม่งอก ยาที่ใช้ได้แก่อาทราซีน อามีทรีน และเมทบูซีน ใช้ในอัตราที่แนะนำข้างขวด
  2. ยาฆ่าและคุมหญ้า ใช้ เมื่ออ้อยงอกแล้ว และหญ้าอายุไม่เกิน 5 สัปดาห์ ได้แก่ อามีทรีน อามีทรีนผสมอาทราซีน เมทริบูซีนผสมกับ 2 , 4-ดี ในอัตราที่แนะนำข้างขวด
  3. ยาฆ่าหญ้า ให้เมื่ออ้อยงอกแล้ว และหญ้าโต อายุมากกว่า 6 สัปดาห์ ได้แก่ พาราควอท ? ลิตร ดินประสิว 1 ขีด เกลือแกง 1 ขีด และผงซักฟอก 1 ขีด
วิธีการผสม คือ ละลายเกลือแกงและดินประสิวในน้ำ 10 ลิตร และละลายผงซักฟอกในน้ำ 5 ลิตร คนให้ผงซักฟอกละลายให้หมด นำสารละลายทั้งสองมาผสมให้เข้ากันแล้วเติมพาราควอท คนให้เข้ากันแล้วจึงเติมน้ำอีก 85 ลิตร คนให้เข้ากัน (รวม 100 ลิตร ฉีด ได้ 1 ไร่) ซึ่งยาชนิดนี้ใช้ฆ่าได้เฉพาะลูกหญ้า)
ข้อควรระวัง
ยานี้อันตรายต่ออ้อย เวลาฉีดต้องระวังอย่างให้ละอองยาถูกโคนอ้อย
ในการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช เกษตรกรจะต้องรู้จักวิธีใช้ให้ถูกต้องจึงจะทำให้การใช้สารนั้นเกิด ประสิทธิภาพในการคุมและฆ่าวัชพืชได้ อัตราที่ใช้ต้องตรงกับคำแนะนำ ฉีดขณะที่ดินชื้นหัวฉีดควรเป็นรูปพัด ควรมีการทดลองฉีดน้ำเปล่าก่อนเพื่อหาปริมาณของยาที่ต้องใช้ จะทำให้การใช้ตัวยาหรือปริมาณยาเป็นไปตามคำแนะนำ
นอกจากการควบคุมวัชพืชในขณะที่อ้อยยังเล็กอยู่ในระยะ 1-4 เดือนแล้ว เกษตรกรสามารถใช้พื้นที่ระหว่างแถวอ้อย (1.3-1.5 เมตร) ปลูกพืชอายุสั้น เช่น ข้าวโพด ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ได้ด้วย

0 comments:

Post a Comment